มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยแห่งการรับใช้ชุมชนท้องถิ่น  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สถิติผู้เข้าชมตั้งแต่ 27 มี.ค. 2552

ระบบเจ้าหน้าที่  20 
 
การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
9 พฤษภาคม 2568

การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม

การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความรู้เรื่องหญ้าแฝกให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี ควรเน้นที่ประโยชน์ของการปลูกหญ้าแฝกต่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากหญ้าแฝก

อนุรักษ์ดินและน้ำ: หญ้าแฝกมีระบบรากที่แข็งแรง ช่วยยึดดินไม่ให้ถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย. รากยังช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินได้ดี. 

ป้องกันการชะล้างพังทลาย: แนวหญ้าแฝกช่วยชะลอความเร็วของน้ำฝน ทำให้ลดการกัดเซาะของดิน. 

ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม: หญ้าแฝกช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน และช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น. 

เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ: หญ้าแฝกสามารถนำมาสร้างมูลค่าได้ เช่น ทำสินค้าหัตถกรรม หรือขายกล้าหญ้าแฝก. 

หญ้าแฝก เป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดิน และรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูก"

"การปลูกหญ้าแฝก ปลูกเป็นแถวเดี่ยวระยะต้นห่างกัน 10 – 15 เซนติเมตร ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ การดูแลรักษาง่าย ควรทำการทดลองปลูกในร่องน้ำ และบนพื้นที่ลาดชันสูงให้มากเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน"

"การปลูกหญ้าแฝก เป็นแนวคิดใหม่ อยากจะให้ปลูกโดยไม่ต้องหวังผลอะไรมากนัก แต่ผลที่ได้จะดีมาก และการปลูกไม่จำเป็นต้องไปปลูกในที่ของเกษตรกร ขอให้ปลูกกันในสถานีพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นแบบอย่างเพื่อคัดพันธุ์ หาพันธุ์ที่ดีไปขยายพันธุ์โดยดอก ต้องดูว่าปลูกแล้วมีพันธุ์ไหนที่ทนแล้งในหน้าแล้งยังเขียวอยู่ก็ใช้ได้ โดยขอให้ปลูกก่อนฤดูฝน จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงเห็น"

หญ้าแฝก (Vetiveria spp.) 

หญ้าแฝก เป็นพืชตระกูลหญ้าที่พบอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง ความเปียกแฉะและสภาพน้ำท่วมขังใด้ดี เพราะมีระบบรากลึกและใบแคบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria spp. หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่ ขนาดของกอประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตรกว้าง 4-10 มิลลิเมตร มีรากเป็นกระจุกเหมือนใยฟองน้ำ สามารถดูดซับน้ำได้ดี ถ้านำมาปลูกเป็นแถวจะช่วยในการดักตะกอนดินและป้องกันการพังทลายของดินได้ดี

วัตถุประสงค์  การปลูกหญ้าแฝกเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

2. เพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดิน

3. เพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่เสื่อมโทรม

 

 

 

 

ชนิดพันธุ์หญ้าแฝก

หญ้าแฝกที่นิยมปลูกกันมากในประเทศมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่สามารถเจริญเติบได้ดีบนพื้นที่สูง ที่พบตามหน่วยจัดการต้นน้ำมี 6 สายพันธุ์ ได้แก่

1. พันธุ์แม่ลาน้อย

2. พันธุ์ศรีลังกา

3. พันธุ์อินเดีย

4. พันธุ์แม่ฮ่องสอน

5. พันธุ์เชียงใหม่

6. พันธุ์สุราษฎร์ธานี

การขยายพันธุ์หญ้าแฝก

การขยายพันธุ์หญ้าแฝกที่นิยมกันมาก ง่าย และรวดเร็วได้แก่การแยกหน่อแล้วนำไปชำในแปลงเพาะหรือในถุงชำ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

1. นำหญ้าแฝกที่เป็นกอมาตัดใบออกให้เหลือความยาวของต้นประมาณ 20 เซนติ เมตร และความยาวของรากประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วแยกออกเป็นต้นๆ คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์มีรากติดนำลงปลูกในถุงชำขนาด 5 x 8 นิ้วที่มีส่วนผสมของดินร่วนปนทรายและขี้เถ้าแกลบ จากนั้นนำถุงชำมาวางเรียงในที่แจ้งให้เป็นแถว แถวละประมาณ 10 ถุง ระหว่างแถวห่างกัน 1เมตร รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

2. การเพาะชำในแปลงเพาะแบบยกร่อง โดยการนำหญ้าแฝกที่เตรียมไว้ในข้อที่ 1 มาปลูกในแปลงขยายพันธุ์ที่เตรียมดินโดยการทำเป็นแปลงยกร่องกว้างขนาด 1-1.5 เมตร ความห่างระหว่างแปลงประมาณ 1 เมตร ความยาวของแปลงแล้วแต่ความเหมาะสม โดยนำหญ้าแฝกมาปลูกห่างกันระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกหญ้าแฝกได้ประมาณ 3,200 กอ รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หญ้าแฝกจะเจริญเติบอย่างรวดเร็ว และสามารถแตกหน่อได้ประมาณ 40-50 เท่าในระยะเวลา 4-5 เดือน 

การปลูกหญ้าแฝก หญ้าแฝกสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉเพาะภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร และมีปัญหาเกี่ยวกับการพังทลายของหน้าดิน (Soil-erosion) การปลูกหญ้าแฝกแบ่งตามสภาพพื้นที่ได้ 3 ประเภท ได้แก่

1. ปลูกในพื้นที่ป่าที่ล่อแหลมต่อการกัดชะการพังทลายของดิน

2. ปลูกในพื้นที่เกษตรกรรม

3. ปลูกในพื้นที่อื่นๆที่มีล่อแหลมต่อการกัดชะการพังทลายของดิน

รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก

1. ปลูกในพื้นที่ป่าที่ล่อแหลมต่อการกัดชะการพังทลายของดินเพื่อใช้ในการป้องกันการพังทลายของดิน และใช้ในการดักตะกอน มีหลายรูปแบบ เช่น

1.1 การปลูกหญ้าแฝกขวางแนวความลาดชันเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดินและใช้กรองตะกอนดิน

นำหญ้าแฝกที่ชำไว้มาปลูกขวางแนวความลาดชันให้เป็นแถว ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร ระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ ถ้าความลาดชันมากแถวควรจะถี่ประมาณ 3-5 เมตร ถ้าความลาดชันต่ำแถวควรจะห่างประมาณ 10-20 เมตร

1.2 การปลูกหญ้าแฝกสองข้างฝั่งลำห้วยเพื่อใช้ดักตะกอนดินและใช้กรองเศษวัชพืช

นำหญ้าแฝกที่ชำไว้มาปลูกสองฝั่งลำห้วยให้เป็นแถวแบบสลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30 เซนติเมตรประมาณ 5-10 แถวแล้วแต่สภาพพื้นที่ 

1.3 การปลูกหญ้าแฝกขวางลำห้วยเพื่อชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกขวางลำห้วยแห้ง ระยะห่างระหว่างต้น 10-15 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ (Slope) จำนวนแถวขึ้นอยู่กับความยาวของลำห้วย

1.4 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่เสื่อมโทรมอันเนื่องเกิดจากการชะล้าง พังทลายของดิน (Land-slide)

นำหญ้าแฝกมาปลูกเป็นแถวแบบสลับฟันปลา ระยะห่างระหว่างต้น10-15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตร จนเต็มพื้นที่

1.5 การปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้เป็นแนวกันชน

นำหญ้าแฝกมาปลูกรอบพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่แปลงปรับปรุงระบบนิเวศและพื้นที่สวนป่าปลูกเพื่อเป็นแนวกันชนไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ โดยปลูกเป็นแถวระยะห่างระหว่างต้น 10-15 เซนติเมตร

1.6 การปลูกหญ้าแฝกร่วมกับการสร้างฝายต้นน้ำเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกบนขอบสันฝายต้นน้ำด้านนอก ระยะห่างระหว่างต้น 15-20 เซนติเมตร ความยาวเท่ากับความยาวของฝาย 2. การปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

2.1 การปลูกหญ้าแฝกตามแนวขั้นบันไดดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกตามแนวขอบขั้นบันไดดินควบคู่กับวิธีกล ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-20 เซนติเมตร

ระยะระหว่างแถวขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นบันไดดิน 2.2 การปลูกหญ้าแฝกขวางแนวความลาดชันเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และป้องกันการ ชะล้างพังทลายของดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกเป็นแถวขวางแนวความลาดชัน ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 5-10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ ถ้าความลาดชันสูง ระยะห่างระหว่างแถวควรจะถี่ขึ้น

2.3 การปลูกหญ้าแฝกตามแนวคูรับน้ำขอบเขาเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทะลายของดินและกรองตะกอนดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกตามแนวคูรับน้ำขอบเขา ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับคูรับน้ำเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดินและกรองตะกอนดิน  2.4 การปลูกหญ้าแฝกรอบโคนต้นไม้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มธาตุอาหารในดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกรอบๆ โคนต้นไม้ผล จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย  2.5 การปลูกหญ้าแฝกเสริมรายได้เพื่อใช้ในการทำน้ำหอมและยาป้องกันแมลงศัตรูพืช

นำหญ้าแฝกหอมมาปลูกเป็นแถวในแปลงขนาดใหญ่ ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 20 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตร แล้วนำรากมาสกัดน้ำหอมเพื่อใช้ในการไล่แมลงศัตรูพืช 3. ปลูกในพื้นที่อื่นๆที่หล่อแหลมต่อการกัดชะการพังทะลายของดิน เช่นพื้นที่ในการสร้างเขื่อน สร้างฝายและสร้างถนน

3.1 การปลูกหญ้าแฝกเหนือเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทะลายของดินและดักตะกอนดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกเป็นแปลงเหนือเขื่อน ระยะห่างระหว่างต้น 15-20 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตรจนเต็มพื้นที่  3.2 การปลูกหญ้าแฝกเหนืออ่างเก็บน้ำเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดินและกรองตะกอนดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกเป็นแปลงเหนืออ่างเก็บน้ำ ระยะห่างระหว่างต้น 15-20 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตร จนเต็มพื้นที่  3.3 การปลูกหญ้าแฝกสองข้างไหล่ถนนเพื่อป้องกันการกัดชะการพังทลายของดิน

นำหญ้าแฝกมาปลูกสองข้างไหล่ถนน ระยะห่างระหว่างต้น 10-15 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-50 เซนติเมตร จนเต็มพื้นที่

 

 

 

การบำรุงดูแลรักษา

1. ระยะเวลาในการปลูกหญ้าแฝก ควรปลูกในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2. การใส่ปุ๋ยจะช่วยทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น โดยปกติจะใสปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยไดแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต (DAP) และปุ๋ยสูตร 15:15:15: ในอัตราครึ่งช้อนชา/ต้น  3. การตัดแต่งต้นหญ้าแฝก ควรมีการตัดแต่งใบอย่างสม่ำเสมอทุก 3-4 เดือน เพื่อป้องกันมิให้หญ้าแฝกออกดอก ช่วยให้หญ้าแฝกแตกหน่อเพิ่มขึ้น และยังช่วยควบคุมไม่ให้หญ้าแฝกสูงเกินไป ทำให้หญ้าแฝกชิดติดกันเป็นกำแพงแน่นและ ทำหน้าที่กรองตะกอนดินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  4. การดายวัชพืชในระยะแรกที่ปลูก ควรมีการดายวัชพืชช่วย จะทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ดีและแตกหน่อเร็วขึ้น

ประโยชน์ของหญ้าแฝก

หญ้าแฝกเป็นพืชมหัศจรรย์ ทุกส่วนของลำต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น

ต้นและใบ

1. ช่วยกรองเศษพืชและตะกอนดิน

2. ใช้ทำวัสดุมุงหลังคา

3. ใช้ทำเชือก หมวก ตะกร้า ฯลฯ

4. ใช้เป็นวัสดุคลุมดิน

5. ใช้ทำปุ๋ยหมัก

ราก

1. ดูดซับน้ำและช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน

2. ดูดซับแร่ธาตุและอาหาร

3. ดูดซับสารพิษ

4. ช่วยปรับปรุงสภาพดินทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น

5. ใช้ทำเครื่องสมุนไพรและเครื่องประทินผิว

6. ใช้กลั่นทำน้ำหอม

7. ใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช

 
   
© Copyright 2009 khuansuban.go.th All rights reserved. Powered by  CityVariety Corporation.